เมนู

อรรถกถากิงสุกสูตรที่ 8


ในกิงสุกสูตรที่ 8 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า ทสฺสนํ นั่นเป็นชื่อเรียก ปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค)
เพราะว่า ปฐมมรรค ( นั้น ) ทำหน้าที่คือการละกิเลสได้สำเร็จ เห็น
พระนิพพานเป็นครั้งแรก ฉะนั้นจึงเรียกว่า ทัสสนะ.
ถึงแม้ว่า โคตรภูญาณ จะเห็นพระนิพพานก่อนกว่ามรรคก็จริง
ถึงกระนั้น ก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะได้แต่เห็น แต่ไม่มีการละกิเลส
อันเป็นกิจที่จะต้องทำ.
อีกอย่างหนึ่ง มรรคทั้ง 4 ก็ชื่อว่าทัสสนะเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
ภิกษุนั้นได้ฟังภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ว่า ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
ทัสสนะกำลังบริสุทธิ์ ในขณะแห่งผล ( โสดาปัตติผล ) บริสุทธิ์แล้ว ใน
ขณะแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค ทัสสนะ
กำลังบริสุทธิ์ ส่วนในขณะแห่งผล บริสุทธิ์แล้ว จึงคิดว่า ถึงเราก็จัก
ชำระทัสสนะให้บริสุทธิ์ แล้วดำรงอยู่ในอรหัตตผล คือจักทำให้แจ้งซึ่ง
พระนิพพานที่มีทัสสนะอันบริสุทธิ์อยู่ ดังนี้แล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้น แล้ว
เริ่มถามอย่างนี้.
ภิกษุนั้น บำเพ็ญกัมมัฏฐาน มีผัสสายตนะเป็นอารมณ์ กำหนดรูป-
ธรรมและอรูปธรรม ด้วยอำนาจผัสสายตนะ 6 แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์.
ก็ในอายตนะ 6 นี้ อายตนะ 5 ประการแรกจัดเป็นรูป มนายตนะ
จัดเป็นรูป เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงพูดถึงเฉพาะมรรคที่ตนบรรลุแล้ว.

บทว่า อสนฺตุฏฺโฐ ความว่า ภิกษุนั้น ไม่พอใจ เพราะท่านกล่าว
ยืนยันสังขารบางส่วน ได้ยินว่าภิกษุที่ถามนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ ว่า ท่าน
รูปนี้ได้กล่าวยืนยันสังขารบางส่วน ใคร ๆ จะสามารถยืนหยัดอยู่ ใน
สังขารบางส่วน แล้วบรรลุนิพพาน ที่เป็นทัสสนวิสุทธิได้หรือหนอ.
แต่นั้นท่านจึงถามท่านรูปนั้นว่า ผู้มีอายุ ท่านองค์เดียวเท่านั้นหรือ
ที่รู้จักพระนิพพาน ซึ่งเป็นทัสสนะอันบริสุทธิ์นี้ หรือว่า แม้ผู้อื่นที่รู้จัก
ก็มีอยู่.
ครั้งนั้น ภิกษุที่ถูกถามนั้นได้กล่าวว่า ผู้มีอายุ ในวิหารแห่งโน้น
มีพระเถระชื่อโน้นอยู่.
ภิกษุรูปที่ถามนั้น จึงเข้าไปถามพระเถระแม้นั้น. ท่านเข้าไปถาม
พระเถระรูปอื่น ๆ โดยอุบายนี้แล.
อนึ่งในสูตรนี้ ภิกษุรูปที่ 2 เจริญกัมมัฏฐาน มีเบญจขันธ์เป็น
อารมณ์ ได้กำหนดนามรูป คือ กำหนดรูปด้วยอำนาจรูปขันธ์ กำหนดนาม
ด้วยอำนาจขันธ์ที่เหลือแล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ตามลำดับ เพราะฉะนั้น
ภิกษุรูปที่ 2 แม้นั้น จึงพูดถึงเฉพาะมรรคที่ตนบรรลุแล้ว.
ฝ่ายภิกษุรูปที่ถามนี้ ไม่พอใจด้วยคิดว่า คำพูดของภิกษุเหล่านี้
เข้ากันไม่ได้ (เพราะ) ภิกษุรูปที่ 1 กล่าวยืนยันสังขารที่เป็นไปกับด้วย
บางส่วน ( ส่วน ) ภิกษุรูปที่ 2 นี้ กล่าวยืนยันสังขารที่ไม่มีส่วนเหลือ
( ทั้งหมด ) จึงถามภิกษุนั้นอย่างนั้น แล้วหลีกไป.

ภิกษุรูปที่ 3 เจริญกัมมัฏฐานมีมหาภูตรูปเป็นอารมณ์ กำหนด
มหาภูตรูป 4 ทั้งโดยย่อและโดยพิสดารแล้วสำเร็จอรหัตตผล. เพราะฉะนั้น
ภิกษุรูปที่ 3 แม้นี้ จึงพูดถึงเฉพาะมรรคที่ตนบรรลุแล้วเท่านั้น. แต่ภิกษุ
รูปที่ถามนี้ ก็ยังไม่พอใจด้วยคิดว่า คำพูดของภิกษุเหล่านี้เข้ากันไม่ได้
(เพราะ) ภิกษุรูปที่ 1 กล่าวยืนยันสังขารที่เป็นไปกับด้วยบางส่วน ภิกษุ
รูปที่ 2 กล่าวยืนยันสังขารที่ไม่มีส่วนเหลือ (ทั้งหมด) ภิกษุรูปที่ 3
กล่าวยืนยันสังขารที่มีส่วนยิ่งใหญ่ (มหาภูตรูป) จึงถามภิกษุรูปที่ 3 นั้น
อย่างนั้นแล้วหลีกไป.
ภิกษุรูปที่ 4 เจริญกัมมัฏฐานที่เป็นไปในภูมิ 3. ได้ยินว่า ธาตุ
ของท่านเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เรือนร่างสวยงามแข็งแรง แม้กัมมัฏฐาน
ทุกข้อก็เป็นสัปปายะสำหรับท่าน สังขารไม่ว่าจะเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
เป็นกามาวจร รูปาวจร หรืออรูปาวจร ทั้งหมด ล้วนเป็นสัปปายะ
(สำหรับท่าน ) ทั้งนั้น ชื่อว่า กัมมัฏฐานที่ไม่เป็นสัปปายะไม่มี.
แม้ในกาลทั้งหลาย จะเป็นเวลาก่อนอาหาร หลังอาหาร หรือ
ปฐมยามเป็นต้น ก็ตาม ( เป็นสัปปายะทั้งนั้น ) กาลที่ไม่เป็นสัปปายะ ไม่
มีเลย.
เปรียบเหมือนช้างใหญ่ ก้าวลงสู่ภูมิภาคอันเป็นที่เที่ยวหากิน ต้นไม้
ที่ต้องใช้งวงจับ ก็ใช้งวงนั่นเองถอนมาจับไว้ ต้นไม้ที่ต้องใช้เท้ากระชุ้น
ก็ใช้เท้านั้นเองกระชุ้น แล้วจับไว้ฉันใด ภิกษุรูปที่ 4 นั้น ก็ฉันนั้นเหมือน

กัน คือ กำหนดธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ทั้งหมด ด้วยการกำหนดกลาปะ1
แล้วพิจารณา จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น ภิกษุรูปที่ 4 แม้
นั้น จึงบอกเฉพาะมรรคที่ตนบรรลุแล้ว.
ฝ่ายภิกษุรูปที่ถามนี้ ก็ยิ่งไม่พอใจด้วยคิดว่า คำพูดของภิกษุเหล่านี้
เข้ากันไม่ได้ (เพราะ) ภิกษุรูปที่ 1 ดำรงอยู่ในสปเทสสังขารกล่าว
ภิกษุรูปที่ 2 ดำรงอยู่ในนิปปเทสังขารกล่าว ภิกษุรูปที่ 3 ก็เหมือนเดิม
คือดำรงอยู่ในสปเทสสังขารกล่าว ( ฝ่าย ) ภิกษุรูปที่ 4 ก็ดำรงอยู่ใน
นิปปเทสสังขารเช่นกันกล่าว จึงได้เรียนถามภิกษุนั้นว่า ผู้มีอายุ นิพพาน
ซึ่งมีทัสสนะอันบริสุทธิ์นี้ ท่านรู้ได้ตามธรรมดาของตน หรือว่าใครบอก
ท่าน. ภิกษุนั้นก็ตอบว่า ผู้มีอายุ พวกผมจะรู้อะไร แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีอยู่ในโลก กับทั้งเทวโลก พวกผมอาศัยพระองค์จึงรู้พระนิพพานนั้น.
ภิกษุรูปที่ถามนั้น คิดว่า ภิกษุเหล่านี้ ไม่สามารถบอกให้ถูกอัธยาศัย
ของเราได้ เราเองจะไปทูลถามพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น จึงจะหมดความ
สงสัย ดังนี้แล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ.
1. ปาฐะว่า ยถา นาม ปาริภูมิโอติณฺโณ มหาหตฺถี หตฺเถน คเหตพฺพํ หตฺเถเนว
มุญฺจิตวา คณฺหาติ ปาเทหิ ปหริตฺวา คเหตพฺพํ ปหริตฺวา คณฺหาติ เอวเมว
สกลเตภูมิกธมเม กลาปคหเณ...ฉบับพม่าเป็น ยถานาม จาริภูมึ โอติณฺโณ
มหาหตฺถี หตฺเถน คเหตพฺพํ หตฺเถเนว ลุญฺจิตฺวา คณฺหาติ ปาเทหิ ปหริตฺวา
คเหตพฺพํ ปาเทหิ ปหริตฺวา คณฺหาติ เอวเมว สกเล เตภูมิกธมฺเม กลาปคฺ-
คาเหน...แปลตามฉบับพม่า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำของภิกษุนั้นแล้ว ก็หาได้ทำให้
เธอลำบากใจอย่างนี้ไม่ว่า ภิกษุที่กล่าวแก้ปัญหาแก่เธอทั้ง 4 รูปนั้น เป็น
พระขีณาสพ ภิกษุเหล่านั้น กล่าวแก้ดีแล้ว1 แต่เธอเองต่างหาก กำหนด
ปัญหานั้นไม่ได้ เพราะตนเองเป็นคนโง่ทึบ.
แต่เพราะทรงทราบว่า ภิกษุรูปที่ถามปัญหานั้นเป็นการกรบุคคล
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงพระดำริว่า ภิกษุนี้เป็นผู้แสวงหาประโยชน์
( คือพระนิพพาน ) เราจักสอนเธอให้ตรัสรู้ด้วยพระธรรมเทศนา2 นั้นแล
ดังนี้แล้ว จึงทรงนำ กิงสุโกปมสูตร มา ( แสดง ) ควรหยิบยกเอาเรื่อง
ที่ปรากฏอยู่ ในกิงสุโกปมสูตรนั้นมาอธิบายขยายความ ให้แจ่มแจ้งดัง
ต่อไปนี้ :-
มีเรื่องเล่าว่า แพทย์พราหมณ์คนหนึ่ง เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษา
โรคทุกชนิด เป็นบัณฑิต อาศัยอยู่ในนครใหญ่แห่งหนึ่ง. ต่อมาคนเป็น
วัณโรคคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน. ซึ่งตั้งอยู่ทางประตูเมือง ด้านทิศ
ปราจีน ได้ไปหาแพทย์นั้น ไหว้เขาแล้วยืนอยู่. แพทย์ผู้เป็นบัณฑิต
สนทนาปราศรัยกับเขา แล้วได้ถามว่า พ่อมหาจำเริญ พ่อมาด้วยประสงค์
อะไร.
เขาตอบว่า พ่อหมอ ข้าพเจ้าถูกโรคคุกคาม ขอพ่อหมอช่วยบอก
ยาให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด. หมอแนะนำว่า พ่อมหาจำเริญ ถ้าอย่างนั้นเชิญ
1.ปาฐะว่า สุกถิตา เต... ฉบับพม่าเป็น สุกถิตํ เตหิแปลตามฉบับพม่า
2.ปาฐะว่า อตถคเวสโก เอส ธมฺมเทสนาย เอส ธมฺมเทสนาย เอวํ นํ พุชฺฌา-
เปสฺสามิ. ฉบับพม่าเป็น อตฺตคเวสดก เอส, ธมฺมเทสนาย เอว นํ พุชฺฌาเปสฺสามีติ
แปลตามฉบับพม่า.

พ่อไปตัดต้นทองกวาว เอามาตากแดดให้แห้ง เผาแล้ว เอาน้ำด่างของต้น
ทองกวาวนั้น มาปรุงเข้ากับยาชนิดนี้ ๆ ทำให้เป็นยาดอง แล้วดื่มเถิด
ท่านจักสบาย.
คนที่เป็นโรคนั้น ทำตามหมอบอกแล้วก็หายโรค กลับเป็นคน
แข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส.
ต่อมา คนอีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ทางประตูเมือง
ด้านทิศใต้ กระสับกระส่ายด้วยโรคเดียวกันนั้น ได้สดับว่า ข่าวว่าคนโน้น
ทำยา ( ดื่ม ) แล้วกลับทายโรค จึงเข้าไปหาคนนั้นแล้ว. ถามว่า สหาย
ท่านหายป่วยเพราะอะไร. คนที่ถูกถามนั้นก็ตอบว่า เพราะยาดองทองกวาว
เชิญท่านไปทำดูบ้างเถิด ฝ่ายคนที่เป็นโรคนั้น ก็ไปทำตามนั้น แล้วกลับ
หายโรคเหมือนอย่างนั้น.
อยู่มา คนอีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในหมู่ซึ่งตั้งอยู่ทางประตูเมืองด้าน
ทิศตะวันตก ฯลฯ คนอีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ทางประตู
เมืองด้านทิศเหนือ กระสับกระส่ายด้วยโรคชนิดเดียวกันนั้น ได้สดับว่า
ได้ยินว่า คนโน้นทำยา ( ดื่ม ) แล้วกลับทายโรค จึงเข้าไปหาแล้วถามว่า
หาย ท่านหายป่วย เพราะอะไร. คนที่ถูกถามก็ตอบว่า เพราะยาดอง
ทองกวาว เชิญท่านไปทำดูบ้างเถิด. ฝ่ายคนที่ถามนั้น ก็ไปทำตามนั้น
แล้วกลับทายโรคเหมือนอย่างนั้น.
ต่อมา ชายอีกคนหนึ่งเป็นคนบ้านนอก ไม่เคยเห็นต้นทองกวาว
ทุรนทุรายด้วยโรคเดียวกันนั้น ทำยา ( แก้โรค ) เหล่านั้น ( รักษาตัว )
อยู่นาน เมื่อโรคยังไม่หาย ได้ฟังว่า ข่าวว่า คนที่อยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งตั้ง

อยู่ทางประตูเมืองด้านทิศปราจีน ทำยา ( ดื่ม ) แล้วหายโรค จึงคิดว่า
เราจะถามดูบ้าง จักได้ทำยาอย่างที่เขาทำ ดังนี้แล้ว เอาไม้เท้ายันเดินทาง
ไปหาเขา ตามลำดับ ( ถึงแล้ว ) ได้ถามว่า สหาย ท่านหายป่วยเพราะ
อะไร. คนที่ถูกถามก็ตอบว่า เพราะยาดองทองกวาวนะเพื่อน.
เขาถามต่อไปว่า พ่อมหาจำเริญ ก็ไม้ทองกวาวเป็นเช่นไร คน
ที่ถูกถามก็ตอบว่า เป็นเหมือนเสาไฟไหม้ ตั้งตระหง่านอยู่ในบ้านที่ถูกไฟ
ไหม้.
ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้ เป็นอันบุรุษนั้น บอก (ลักษณะ)
ตันทองกวาวตามอาการที่ตนได้เห็นมาอย่างเดียว. เพราะว่าในเวลาที่เขา
เห็นต้นทองกวาว สลัดใบแล้ว1 จึงได้เป็นเช่นนั้น เพราะเขามาเห็นใน
เวลาเป็นตอ. ก็ชายคนที่พูดว่า ต้นทองกวาวนี้เป็นเหมือนเสาที่ถูกไฟไหม้
ในบ้านที่ถูกไฟไหม้ เพราะเขาเป็นบุคคลประเภท สุตมังคลิกะ ( เชื่อใน
สิ่งที่ได้ยินแล้วว่าเป็นมงคล ) (แต่) เรื่องนี้ไม่เป็นมงคล. เขาไม่พอใจ
คำบอกเล่าของคนคนนั้น ด้วยคิดว่า ความจริงเมื่อเราได้ปรุงยาขนานหนึ่ง
แล้ว โรคก็ไม่หาย จึงถามชายคนนั้นต่อไปว่า พ่อคุณ. พ่อคนเดียวเท่านั้น
ที่รู้จักต้นทองกวาว หรือว่าคนอื่น (ที่รู้) ก็ยังมี.
ยังมีอยู่ พ่อคุณ คนชื่อโน้น อยู่ที่บ้านใกล้ประตูทิศทักษิณ.
เขาได้เข้าไปถามชายคนนั้น. ชายคนนั้นบอกว่า ต้นทองกวาวมีสีแดง
โดยอนุรูปแก่ต้นทองกวาวที่ตนเห็น เพราะตนเห็น ในเวลาที่ต้นทองกวาว
1. ปาฐะว่า ปติตมตฺโต ขารกชเลน ทิฏฐตฺตา ฉบับพม่าเป็น ปติตปตฺโต ขาณุกกเล
ทิฏฺฐตฺตา แปลตามฉบับพม่า.

บาน. เขาไม่พอใจคำบอกเล่า แม้ของชายคนนั้น ด้วยคิดว่า ชายผู้นี้
บอกว่า ต้นทองกวาวแดง ผิดจากคนก่อนที่บอกว่าดำ เพราะเห็นใกล้มาก
และเห็นใกล้มาก ( ต่างกัน ) จึงถามว่า พ่อคุณ ยังมีอยู่ไหม ใครคนอื่น
ที่เคยเห็นดอกทองกวาว. เมื่อเขาตอบว่า มีคนชื่อโน้น อยู่ที่บ้านใกล้ประตู
พระนครด้านทิศตะวันตก จึงเข้าไปถามชายผู้นั้น. ชายคนนั้นตอบว่า
ทองกวาวมีดอกทนทาน เหมือนฝักดาบที่ยังดี ๆ ( ยังไม่ชำรุด) ตามแนวที่
ตนเห็น เพราะเขาเห็นในเวลาทองกวาวมีดอก. จริงอยู่ทองกวาวในเวลา
มีดอกบาน เหมือนจะห้อยอยู่นาน และเหมือนฝักดาบที่ถือห้อยลงมา จะมี
ฝักห้อยลงมาเหมือนต้นซึก. เขา (ได้ฟังแล้ว ) ไม่พอใจคำบอกของคน
นั้น ด้วยคิดว่า คนผู้นี้ พูดผิดจากคนก่อน เราไม่อาจเชื่อถือถ้อยคำของ
คนผู้นี้ได้ จึงถามว่า พ่อคุณ ยังมีไหมใครคนอื่น ที่เคยเห็นดอกทอง-
กวาว เมื่อเขาตอบว่า มีคนชื่อโน้น อยู่ในบ้านใกล้ประตูพระนครทิศอุดร
จึงเข้าไปถามคน ๆ นั้น. คน ๆ นั้นบอกว่าต้นทองกวาว มีใบดกหนา
มีร่มเงาทึบ. ร่มเงาที่ชิดติดกัน ชื่อว่าร่มเงาทึบ. เขาไม่พอใจคำตอบของ
คน ๆ นั้น ด้วยคิดว่าคนผู้นี้ พูดผิดจากคนก่อน เราไม่อาจเชื่อถือถ้อยคำ
ของคนนี้ได้ จึงถามเขาว่า พ่อคุณ พวกท่านรู้จักทองกวาว ตามธรรมดา
ของตน หรือว่าใครบอกท่าน. พวกเขาตอบว่า พ่อคุณ พวกเราจะรู้ได้
อย่างไร แต่เราทั้งหลาย มีอาจารย์ที่เป็นแพทย์บัณฑิต อยู่ท่ามกลางมหานคร
พวกเราอาศัยท่านแล้วจึงรู้ได้. ชายคนนั้น คิดว่า ถึงเราก็จะเข้าไปหา
อาจารย์นั้น จะได้สิ้นข้อกังขา แล้วเข้าไปยังสำนักอาจารย์ ไหว้แล้ว นั่งอยู่.
แพทย์บัณฑิตทักทายกับเขา พอเกิดความบันเทิงแล้ว ถามว่า พ่อมหา

จำเริญ เธอมาโดยมีประสงค์อันใด เขาตอบว่า ผมนี้ถูกโรคคุกคาม ขอ
อาจารย์จงบอกยาสักขนานหนึ่ง. แพทย์บัณฑิต จึงบอกว่า พ่อคุณ ถ้า
กระนั้น เธอจงไปตัดเอาต้นทองกวาวมาตากให้แห้ง เผาแล้ว เอาน้ำด่าง
ของมันมาปรุงกับยาอย่างนี้ อย่างนี้ ดองแล้วดื่ม เธอจะถึงความสบาย
ด้วยยาขนานนี้ เขาทำอย่างนั้นแล้ว หายโรค กลับเป็นผู้มีกำลังวังชา
ผุดผ่อง.
ในข้ออุปมานั้น พระนครคือพระนิพพาน พึงเห็นว่า เหมือน
มหานคร. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนแพทย์บัณฑิต
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ คำว่า
ภิสโภ (อายุรแพทย์) สลฺลถตฺโต (ศัลยแพทย์) นี้เป็นชื่อของตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. พระขีณาสพผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ 4 ประเภท
เหมือนลูกมือของแพทย์ 4 คน ผู้อยู่ในบ้านใกล้ประตูพระนครทั้ง 4.
ภิกษุผู้ทูลถามปัญหา เหมือนบุรุษชาวปัจจันตชนบทคนแรก. เวลาเข้าไป
เฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามปัญหาของภิกษุนี้ ผู้ไม่พอใจด้วยถ้อยคำ ของ
พระขีณาสพ 4 ประเภท ผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ เหมือนการเข้าไปหาอาจารย์
แล้วถาม ของชาวปัจจันตชนบทผู้ไม่พอใจด้วยถ้อยคำ ของลูกมือแพทย์
ทั้ง 4 คน ฉะนั้น.
บทว่า ยถา ยถา อธิมุตฺตานํ ความว่า น้อมไปแล้ว โดย
อาการใด.
บทว่า ทสฺสนํ สุวิสุทฺธํ ความว่า การเห็นพระนิพพานเป็น
ทัสสนะที่บริสุทธิ์ด้วยดี.

บทว่า ตถา ตถา เฉเกหิ สปฺปุริเสหิ พฺยากตํ ความว่า
สัตบุรุษ (ผู้ฉลาดทูลหลาย) เหล่านั้น ได้บอกแล้วแก่เธอ โดยอาการนั้น ๆ
แล1. .
อุปมาเหมือนหนึ่งว่า บุคคลเมื่อบอกว่า ทองกวาวดำ ก็จะไม่บอก
อย่างอื่น คงบอกทองกวาวนั่นแหละ ตามนัยที่ตนได้เห็นฉันใด แม้
พระขีณาสพผู้ได้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจแห่งผัสสายตนะ 6 ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน เมื่อจะตอนปัญหานี้ ก็ไม่บอกอย่างอื่น บอกนิพพาน
นั่นแหละ ที่เป็นทัสสนวิสุทธิ ตามมรรคที่ตนได้บรรลุ.
และบุคคลแม้เมื่อจะบอกว่า ทองกวาวแดง เกิดมานานแล้ว
ใบดกหนา จะไม่บอกอย่างอื่น. คงบอกดอกทองกวาวนั่นแหละ ตามนัยที่
ตนได้เห็นแล้ว ฉันใด พระขีณาสพผู้ได้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยสามารถ
แห่งอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 ด้วยสามารถแห่งมหาภูตรูป 4 หรือด้วยสามารถ
แห่งธรรมเป็นไปในภูมิ 3 ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. เมื่อจะตอบปัญหานี้ ก็จะ
ไม่ตอบอย่างอื่น คงตอบนิพพานนั่นเอง ที่เป็นทัสสนวิสุทธิ์ ตามมรรค
ที่ตนได้บรรลุแล้ว.
บรรดาคนเหล่านั้น ผู้เห็นทองกวาว ในเวลาทองกวาวดำ การเห็น
นั้น เป็นเรื่องจริง เป็นของแท้ ไม่ใช่เขาเห็นอย่างอื่น เห็นทองกวาว
นั่นแหละฉันใด พระขีณาสพแม้ผู้ได้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจแห่ง-
ผัสสายตนะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทัสสนะเป็นของจริง เป็นของแท้ ไม่ใช่
1. ปาฐะว่า เตน เตน อากาเรน วา ฉบับพม่าเป็น เตน เตเนวากาเรน แปลตาม
ฉบับพม่า.

ท่านบอกอย่างอื่น บอกพระนิพพานนั่นแหละ ที่เป็นทัสสนวิสุทธิ ตาม
มรรคที่ตนได้บรรลุแล้ว. อนึ่งแม้ผู้เห็นทองกวาว ในเวลามันมีสีแดงเกิด
มานาน มีใบดกหนา การเห็นนั้น ก็เป็นของจริง เป็นของแท้ไม่ใช่เห็น
อย่างอื่น เห็นทองกวาวนั่นแหละฉันใด พระขีณาสพแม้ผู้ได้บรรลุทัสสน-
วิสุทธิ ด้วยอำนาจอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 ด้วยอำนาจมหาภูตรูป 4 ( หรือ )
ด้วยอำนาจธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทัสสนะเป็นของจริง
เป็นของแท้ ท่านไม่ได้บอกสิ่งอื่น บอกนิพพานนั่นแหละ ที่เป็นทัสสน-
วิสุทธิ ตามมรรคที่ตนได้บรรลุ.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่มคำนี้ไว้ว่า
เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ รญฺโญ ปจฺจนฺติมํ นครํ.
ตอบว่า เพราะถ้าภิกษุนั้น เข้าใจคำนั้นได้แล้ว ตอนนั้น1 พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จะได้เริ่มพระธรรมเทศนา ถ้าไม่เข้าใจ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้ทรงเริ่มเพื่อต้องการจะแสดง คือเพื่อต้องการขยายความนั้นแล2 แก่
ภิกษุนั้น ด้วยข้ออุปมา ด้วยนครนี้.
ในข้ออุปมานั้น เพราะเหตุที่นครในมัชฌิมประเทศ3สิ่งล้อมรอบ
ทั้งหลายมีกำแพงเป็นต้น มั่นคงบ้าง ไม่มั่นคงบ้าง4หรือว่าไม่มั่นคงโดย
ประการทั้งปวง ความหวาดระแวงโจรย่อมไม่มี. ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ปจฺจนฺติมํ นครํ ดังนี้ โดยมิได้มุ่งหมายเอานครในมัชฌิม-
ประเทศนั้น.
1. ปาฐะว่า อตฺถสฺส ฉบับพม่าเป็น อถลฺส แปลตามฉบับพม่า
2. ปาฐะว่า ตสฺเสว วตฺถุสฺส ฉบับพม่าเป็น ตสฺเสวตฺถสฺส แปลตามฉบับพม่า.
3. ปาฐะว่า มชิฌิมปเทเสน ฉบับพม่าเป็น มชฺฌิมปเทเส แปลตามฉบับพม่า.
4. ปาฐะว่า โหนฺติ ฉบับพม่าเป็นโหนฺตุ แปลตามฉบับพม่า.

บทว่า ทฬฺหํ แปลว่า มั่นคง.
บทว่า ปาการโตรณํ ได้แก่กำแพงที่มั่นคง และเสาค่ายที่มั่นคง.
อันธรรมดาว่า เสาค่ายสูง 1 ช่วงคน เขาสร้างไว้เพื่อเป็นเครื่อง
ประดับนคร ทั้งเป็นสถานที่สำหรับป้องกันโจรได้เหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โตรณํ นั่น เป็นชื่อของบานประตู1 หมาย
ความว่า มีบานประตูแข็งแรง.
บทว่า. ฉทฺวารํ ความว่า ธรรมดาว่าประตูเมือง ย่อมมีประตูเดียว
บ้าง 2 ประตูบ้าง 100 ประตูบ้าง 1000 ประตูบ้าง. แต่ในที่นี้พระศาสดา
เมื่อจะทรงแสดงนครมี 6 ประตู จึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า ปเณฺฑิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ฉลาด.
บทว่า พฺยตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้เฉียบแหลม คือ
มีญาณอันผ่องใส.
บทว่า เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือ ปัญญาสำหรับ
วินิจฉัยเหตุที่เกิดขึ้น.
พึงทำเนื้อความในคำว่า ปุรตฺถิมาย ทิสาย เป็นต้น ให้แจ่มแจ้ง
แล้วทราบความหมายอย่างนี้ ( ดังต่อไปนี้ ) เถิด.
ได้ยินว่า ในมหานครอันมั่งคั่ง พระราชาผู้ประกอบด้วยรตนะทั้ง
7 ประการ ทรงครองจักรพรรดิราชสมบัติ ( แต่ว่า ) ปัจจันตนครนั่นของ
พระองค์ กลับขาดผู้ปฏิบัติราชการแทนพระองค์2 ครานั้นราชบุรุษทั้งหลาย
1.ปาฐะว่า ปีฐสงฺฆาตสฺเสตํ ฉบับพม่าเป็น ปิฏฺฐสงฺฆาตสฺเสตํ แปลตามฉบับพม่า
2. ปาฐะว่า ตสฺเสตํ น ปจจนฺตนครํ ราชายุตฺตวิรหิตํ ฉบับพม่าเป็น ตสฺเสตํ
ปจฺจนฺตนครํ ราชายุตฺตวิรหิตํ แปลตามฉบับพม่า.

จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ในนครของพวกข้าพระองค์ ไม่มีผู้ปฏิบัติ
ราชการแทนพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดประทานผู้ปฏิบัติราชการแทน
พระองค์ ให้พวกข้าพระองค์ สักคนหนึ่งเถิด.
พระราชาพระราชทาน พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง แล้วตรัสว่า
ไปเถิด จงพาเอาราชบุตรนั่นไปอภิเษกไว้ในเมืองนั้น ให้รับตำแหน่งมี
ตำแหน่ง วินิจฉัยเป็นต้น แล้วอยู่เถิด. ราชบุรุษเหล่านั้น ได้ทำตาม
กระแสพระราชดำรัส.
เพราะคลุกคลีอยู่กับมิตรที่เลว ล่วงไปได้ 2 - 3 วัน ราชโอรสก็
กลายเป็นนักเลงสุรา ละเลยตำแหน่งทุกอย่างมีตำแหน่งวินิจฉัยเป็นต้น
อันเหล่านักเลงแวดล้อม ดื่มสุรา ปล่อยวันและคืนให้ล่วงไป ด้วยความ
สนุกสนานเพลิดเพลินกับการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น อยู่ท่ามกลางนคร.
ต่อมา ราชบุรุษทั้งหลาย ได้กราบทูลให้พระราชาทรงทราบ.
พระราชาทรงสั่งบังคับ อำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่งว่า เจ้าจงไปตักเตือน
พระกุมารให้รับผิดชอบต่อตำแหน่งมีการวินิจฉัยคดีเป็นต้น อภิเษกใหม่
แล้วค่อยกลับมา.
อำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะตักเตือน
พระกุมารได้หรอก พระกุมารเป็นคนดุร้าย ( บางที ) จะพึงฆ่าข้าพระองค์
ก็ได้.
1. ปาฐะว่า อมฺหากํ เทวนคเร อายุตฺตโก เทหิ ฉบับพม่าเป็น อมฺหากํ เทว นคเร
อายุตฺตโก นตฺถิ แปลตามฉบับพม่า.

ครานั้น พระราชาจึงสั่งบังคับนายทหารผู้สมบูรณ์ด้วยพลังคนหนึ่ง
ว่า เจ้าจงไปกับอำมาตย์นี้ ถ้าพระกุมารนั้นไม่ยอมอยู่ในโอวาท ก็จงตัด
ศีรษะเขาเสีย.
ด้วยพระบรมราชโองการนี้ ราชทูตด่วนทั้งคู่ คือ อำมาตย์และ1
นายทหารผู้นั้น ก็พากันไปในเมืองนั้น แล้วถามนายทวารบาลว่า พ่อมหา
จำเริญ พระกุมารผู้ว่าการพระนครอยู่ที่ไหน. นายทวารบาลตอบว่า
( ขณะนี้ ) พระองค์อันเหล่านักเลงห้อมล้อม ประทับนั่งเสวยน้ำจัณฑ์
ทรงเกษมสำราญอยู่กับการขับร้องเป็นต้น อยู่ที่ทางสามแยกกลางนคร.
ทันใดนั้น ราชทูตทั้งคู่นั้น จึงเข้าไปเฝ้าแล้วทูลว่า มีพระบรม-
ราชโองการให้อมาตย์ยังเป็นใหญ่ ( รักษาการ ) ในเมืองนี้ไปก่อน ขอ-
พระองค์จงรับสั่งให้เขารับผิดชอบตำแหน่งวินิจฉัยเป็นต้น แล้วจงปกครอง
บ้านเมืองให้ดี.
พระกุมารประทับนั่ง เป็นเหมือนไม่ทรงได้ยิน. เมื่อเหตุการณ์
เป็นเช่นนี้ ทูตฝ่ายทหาร ก็จับพระเศียรของพระกุมารนั้น แล้วชัก-
พระขรรค์ออกพร้อมทั้งทูลว่า ถ้าพระองค์จะทำตามพระราชอาญาก็จงทำ
เสียเถิด หากไม่ทำ หม่อมฉันจักบั่นพระเศียร ( ของพระองค์) ให้หลุด
หล่นลงเสียในที่นี้แหละ. เหล่านักเลงผู้คอยบำรุงบำเรอก็หนีกระจัดกระจาย
ไปคนละทิศละทางในทันใดนั้นเอง. พระกุมารตกพระทัยกลัว ยอมรับ
พระราชสาสน์.
1. ปาฐะว่า โยโธ วา ฉบับพม่าเป็นโยโธ จ (แปลตามฉบับพม่า)

ครั้นแล้ว ราชทูตทั้งคู่นั้น ก็ทำการอภิเษก แก่พระกุมารนั้น
ในที่นั้นนั่นแล แล้วให้ยกเศวตฉัตรขึ้น มอบพระบรมราชโองการที่มี
พระดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมไว้ว่า เจ้าจงปกครองบ้านเมืองโดย
ชอบเถิด ดังนี้แล้ว เดินทางกลับไปตามทางที่มาแล้วนั่นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้ง จึงตรัส
คำว่า ปุรตฺถิมาย ทิสาย เป็นต้น.
ในสูตรนั้น มีข้ออุปมาเปรียบเทียบ ดังต่อไปนี้:-
ก็พระนครคือนิพพาน พึงเห็นเหมือนมหานครที่มั่งคั่ง. พระธรรม
ราชาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์รตนะ 7 ประการ พึงเห็น
เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยรตนะ 7 ประการ. นครคือ
กายของตน พึงเห็นเหมือนนครชายแดน. จิตตุปบาทที่โกงของภิกษุนี้
พึงเห็นเหมือนราชบุตรโกง ( ทรราช ) ในนครนั้น เวลาที่ภิกษุนี้พรั่ง
พร้อมด้วยนิวรณ์ 5 พึงเห็นเหมือนเวลาที่ราชบุตร ( ทรราช ) อันเหล่า
นักเลงแวดล้อม. สมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน พึงเห็นเหมือน
ราชทูตเร็วทั้งคู่. เวลาที่จิตถูกสมาธิในปฐมฌานเกิดขึ้น ตรึงไว้มิให้
หวั่นไหว พึงเห็นเหมือนเวลาที่ราชบุตรทรราชถูกทหารใหญ่จับพระเศียร.
ภาวะที่เมื่อปฐมฌาน พอเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์ 5 ก็อยู่ห่างไกล พึงเห็น
เหมือนภาวะที่เมื่อราชบุตรทรราช พอถูกทหารใหญ่จับพระเศียร เหล่า
นักเลงทั้งหลายก็หนีกระจัดกระจายไปไกลคนละทิศละทาง. เวลาที่ภิกษุนั้น
ออกจากฌาน พึงเห็นเหมือนเวลาที่ทหารใหญ่ พอราชบุตรทรราชรับรองว่า
จักทำตามพระบรมราชโองการ ก็ปล่อยพระราชกุมาร.

เวลาที่ภิกษุนั้นทำจิตให้ควรแก่การงาน ด้วยสมาธิแล้ว เจริญ-
วิปัสสนากัมมัฏฐาน พึงเห็นเหมือนเวลาที่อำมาตย์ทูลให้ทราบกระแส
พระบรมราชโองการ ( แก่ราชบุตร )
การที่ภิกษุผู้อาศัยสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้ว
สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ยกเศวตฉัตรคือวิมุตติขึ้น พึงทราบเหมือนการที่
ราชบุตรนั้น อันราชทูตทั้งคู่นั้นทำการอภิเษก แล้วยกเศวตฉัตรขึ้นถวาย
ในเมืองนั้นนั่นแล.
ส่วนเนื้อความของบททั้งหลาย มีอาทิว่า จาตุมฺมหาภูติกสฺส ใน
คำมีอาทิว่า นครนฺติ โข ภิกฺขุ อิมสฺเสตํ จาตุมฺมหาภูติกสฺส กายสฺส
อธิวจนํ
ได้อธิบายไว้อย่างพิสดารแล้วในตอนต้น.
ก็ในสูตรนี้ กายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า นคร เพราะเป็น
ที่ประทับอยู่ของราชบุตร คือวิญญาณอย่างเดียว.
อายตนะ 6 ตรัสเรียกว่า ทวาร เพราะเป็นประตู ( ทางออก )
ของราชบุตร คือ วิญญาณนั้น นั่นแล.
สติ ตรัสเรียกว่า นายทวารบาล ( คนเฝ้าประตู ) เพราะเฝ้า
ประจำอยู่ ในทวารทั้ง 6 นั้น.
ในบทนี้ว่า สมถะ และ วิปัสสนา เป็น ราชทูตด่วน สมถะพึง
ทราบว่า เหมือนทหารใหญ่ วิปัสสนา พึงทราบว่าเหมือนอำมาตย์ ผู้
ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต เพราะถูกพระธรรมราชา ผู้ตรัสบอก
กัมมัฏฐาน ทรงส่งไปแล้ว.

บทว่า มชฺเฌ สึฆาฏโก ความว่า ทางสามแยกกลางนคร.
บทว่า มหาภูตานํ ได้แก่ มหาภูตรูปอันเป็นที่อาศัยของหทยวัตถุ
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศัพท์ว่า มหาภูตรูป 4 ไว้ก็เพื่อแสดง
( นิสสย ) ปัจจัยของวัตถุรูปนั่นเอง.
พระราชบุตร คือ วิปัสสนาจิต ประทับนั่งอยู่ที่ทางสามแยกคือหทย
รูป ในท่ามกลาง ( นครคือ ) กาย อันเหล่าราชทูต คือสมถะและวิปัสสนา
พึงอภิเษกต้องการอภิเษกเป็นพระอรหันต์ พึงเห็นเหมือนพระราชกุมารนั้น
( ประทับนั่ง ) อยู่กลางนคร.
ส่วนพระนิพพานตรัสเรียกว่า ยถาภูตพจน์ เพราะขยายสภาพ
ตามเป็นจริง มิได้หวั่นไหว.
ก็อริยมรรค ตรัสเรียกว่า ยถาคตมรรค เพราะอธิบายว่าวิปัสสนา
มรรคแม้นี้ ก็เป็นเช่นกับวิปัสสนามรรค อันเป็นส่วนเบื้องต้นนั่นเอง
เพราะประกอบดีแล้ว ด้วยองค์ 8.
ข้อเปรียบเทียบ ( ดังจะกล่าวต่อไปนี้ ) เป็นข้อเปรียบเทียบ ในฝ่าย
ที่นำมา เพื่อทำความนั้นเองให้ปรากฏชัด.
อธิบายว่า ในสูตรนี้ อุปมาด้วยทวาร 6 ( พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยก ) มาเพื่อแสดงถึงพระขีณาสพ ผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจผัส-
สายตนะ 6.
อุปมาด้วยเจ้านคร ( พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก ) มาเพื่อแสดงถึง
พระขีณาสพ ผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจเบญจขันธ์

อุปมาด้วยทางสามแยก ( พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก ) มาเพื่อแสดง
ถึงพระขีณาสพ ผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจเตภูมิกธรรม.
แต่ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสัจจะทั้ง 4 นั่นแหละไว้
โดยย่อ.
แท้จริง ทุกขสัจนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วด้วยองค์
ประกอบของเมืองทั้งหมด. นิโรธสัจ ตรัสไว้แล้วด้วยยถาภูตวจนะ มัคคสัจ
ตรัสไว้แล้วด้วยถาคตมรรค. ส่วนตัณหาที่เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด คือ
สมุทยสัจ.
ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ภิกษุผู้ถามปัญหา ได้ดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผลแล.
จบ อรรถกถากิงสุกลสูตรที่ 8

9. วีณาสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเปรียบด้วยพิณ


[343] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความ
ขัดเคือง ความหลง หรือแม้ความคับแค้นใจในรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วย
จักษุ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือแก่ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณี
พึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ด้วยมนสิการว่า หน-
ทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็น
ทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษ